วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 4 วันที่ 11 กันยายน 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 ห้อง 223

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอบทความวิทยาศาสตร์ 5 คน สรุปเป็น Mind Map ดังนี้ค่ะ


วันนี้เรียนเรื่อง ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้สรุปเป็น Mind Map ดังนี้ค่ะ


ความรู้เพิ่มเติม (Learn more)

      วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงต้องเริ่มจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ การสังเกต การค้นคว้าหาคำตอบ การให้เหตุผล ตามด้วยการเรียนทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์และความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กโดยใช้ประสบการณ์จริงและการทดลองปฎิบัติ 

เพิ่มเติมได้ที่ : วิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัย  CICK

เทคนิคการสอน (Teaching methods)

1. ทักษะการเขียนสรุป
2. ทักษะการใช้คำถาม เป็นคำถามปลายเปิด

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)

1. สามารถฝึกให้เด็กเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิาภาพ
2. สามารถนำแนวคิดพื้นฐานวิทยาศาสตร์มาปรับใช้ในการเรียนเพื่อนำมาเป็นความรู้เพื่มเติม

ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)

ตนเอง : 85% ไม่ค่อยตั้งใจเรียน มีคุยกับเพื่อนบ้างบางเวลา
เพื่อน : 90% ส่วนใหญ่ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม
อาจารย์ : 95% มีการใช้คำถามปลายเปิดถามนักศึกษา ให้นักศึกษาได้ตอบ มีเนื้อหาที่ครบถ้วน แต่บรรยากาศง่วงไปหน่อย





วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 3 วันที่ 4 กันยายน 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 ห้อง 233

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

วันนี้เรียนเรื่อง รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย ได้สรุปเป็น Mind Map ดังนี้ค่ะ


ความรู้เพิ่มเติม (Learn more)

           เฟรอเบล ได้รับการขนานนามว่า "บิดาการศึกษาปฐมวัย" โดยการพัฒนาโรงเรียนแห่งแรกขึ้นที่ประเทศเยอรมันนี เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัยให้เป็นไปอย่างมีรูปแบบ กำหนดให้มีการวางแผนการสอน มีหลักสูตรสำหรับการศึกษาปฐมวัย มีการฝึกหัดครู รวมถึงการสอนเด็กปฐมวัยด้วยการผลิตอุปกรณ์การสอนที่เรียนว่า "ชุดอุปกรณ์" และการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยที่เรียนว่า "การงานอาชีพ" 
           เฟรอเบลเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในสิ่งดีงามมาตั้งแต่เกิด เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้ด้วยการเล่น การแสดงออกอย่างอิสระ เด็กควรได้รับประสบการณ์จากการเรียนรู้ทั้งนอกชั้นและในชั้นเรียนโดยเฉพาะประสบการณ์ที่ได้มาจากการเล่น

"เด็กเปรียบเสมือนเมล็ดพันธ์ที่ต้องกการการพัฒนาให้งอกงามทั้งสติปํญญาร่างกาย สังคมและอารมณ์-จิตใจ และการจัดการศึกษาที่ดี ต้องส่งเสรมิพัฒนาการเด็กให้เต็มศักยภาพในทุกด้านอย่างมีความหมาย"

การเรียนการสอน

1. Gifts (ชุดอุปกรณ์) : เป็นชุดอุปกรณ์ที่เฟรอเบลพัฒนาขึ้นสำหรับการสอนเด็กปฐมวัยเป็นหัวใจสำคัญของสื่อการสอนและแบบเรียนสำหรับเด็ก
2. Occupations (การงานอาชีพ) : เป็นกิจกรรมเสริมการเรียนชุดอุปกรณ์ที่เฟรอเบลกำหนดขึ้นเพื่อให้การเรียนการสอนเด็กครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน มีหลากหลาย เช่น พับกระดาษ ฉีกกระดาษ

อ้างอิงจาก : การจัดการเรียนการสอนแบบเฟรอเบล (Froebelian Model)  CICK


การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)

1. สามารถจัดประสบการณ์เสริมสร้างพัฒนาการเด็กได้โดยอ้างอิงจากทฤษฎี
2. สามารถใช้เป็นแนวทางการเรียนรู้เพื่อเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆได้
3. สามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเด็กเพื่อที่จะให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)

ตนเอง : 90% ตั้งใจเรียนไม่ค่อยคุย เข้าใจเนื้อหาบ้างแล้วกลับมาหาเพิ่มเติม
เพื่อน : 90% มีเพื่อนบางคนคุยกันบ้าง และมีคนมาสายค่อยข้างเยอะ
อาจารย์ : 100% เข้าสอนตรงเวลา มีการทบทวนเนื้อหาที่สอนไปและมีการแนะนำการเขียน Mind Map ด้วย




บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 2 วันที่ 28 สิงหาคม 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 233

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

วันนี้เรียนเรื่องเด็กปฐมวัยกับวิทยาศาสตร์ ได้สรุปเป็น Mind Map ดังนี้ค่ะ


ทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (Science Skills for Kids)

         เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญาสูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ และแก้ไขปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
          ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นทักษะขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ ได้แก่

1. ทักษะการสังเกต (Observation)
2. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
3. ทักษะการวัด (Measurement)
4. ทักษะการสื่อความหมาย (Cummunication)
5. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Inferring) 
6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Space) 
7. ทักษะการคำนวณ (Numeracy)

อ้างอิงจาก : โลกแห่งวิทยาศาสตร์  CICK

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)

1. สามารถนำไปจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์วิทยาศาสตร์ให้กับเด็ก
2. สามารถนำไปออกแบบกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้เป็นไปตามวัย

ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)

ตนเอง : 80% มีเนื้อหาบางส่วนที่ไม่ค่อยเข้าใจแต่ได้หาข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว

เพื่อน : 90% มีน้ำใจช่วยอธิบายให้ส่วนที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ
อาจารย์ : 100% มาสอนตรงเวลา นำความรู้มาสอนอย่างละเอียดครบถ้วน






วันพุธที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 1 วันที่ 21 สิงหาคม 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 223

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

วันนี้เป็นคาบแรกที่ได้เรียนอาจารย์ได้อธิบายแนวการสอน,ผลลัพธ์การเรียนรู้ สามารถแบ่งได้ 6 ด้าน 
ได้แก่

1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม
2. ด้านความรู้ 
3. ด้านทักษะทางปัญญา
4. ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6. ด้านการจัดการเรียนรู้

อาจารย์ให้สร้างบล็อกโดยมีองค์ประกอบดังนี้

ใส่เนื้อหาที่เรียนเป็น (Mind Map) การนำไปประยุกต์ใช้ และประเมินตนเอง

1.ชื่อและคำอธิบานบล็อก
2. รูปและประวัติส่วนตัว
3. ปฎิทินและนาฬิกา
4. เชิ่อมโยงบล็อก
     - อาจารย์ผู้สอน
     - หน่วยงานสนับสนุน
     - รายชื่อเพื่อน
     - งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์
     - บทความ
     - สื่อ (เพลง,นิทาน)
     - สถิติผู้เข้าชม
** ทุกอย่างขอให้เป็นภาษาอังกฤษ

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)

1.สามารถนำเทคโนโลยีมาประกอบการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ 
2. สามารถนำเทคนิคการสอนไปใช้กับเด็ก เช่น การใช้คำถามง่ายๆกับเด็ก