วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 12 วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 ห้อง 223

วันนี้นำเสนองานวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
















เทคนิคการสอน (Teaching methods)

1.ให้ฝึกคิดวิเคราะห์ แยกแยะในการสรุปวิจัย
2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง
3.การสรุปวิจัยควรสรุปที่สำคัญ ให้ดูว่าในวิจัยมีแผนการสอนหรือไม่

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)
1. สามารถนำแผนการสอนในวิจัยมาเป็นแนวทางและปรับใช้ในการสอนได้
2. สามารถนำข้อมูลในวิจัยมาปรับประยุกต์เพื่อส่งเสริมกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้
3. สามารถนำทักษะวิทยาศาสตร์ต่างๆมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมได้

ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)

        ตนเอง : ตั้งใจเรียน ตั้งใจจดบันทึกเพิ่มเติมจากการฟังนำเสนอวิจัย สามารถจดประเด็นที่สำคัญๆที่อาจารย์แนะนำในวิจัยได้
       เพื่อน : ทุกคนตั้งใจฟังเพื่อนที่ออกมานำเสนองานวิจัย เพื่อนแต่ละคนมีการจดบันทึกจากการฟังวิจัย อาจจะมีส่วนน้อยที่คุยบาง
       อาจารย์ : อาจารย์มีการแนะนำเพิ่มเติมจากที่เพื่อนนำเสนอ มีการให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการสรุปงานวิจัยให้ง่ายและเข้าใจมากยิ่งขึ้น อาจารย์บอกประเด็นสำคัญๆในงานวิจัยเพื่อในทุกคนเข้าใจมากยิ่งขี้น


วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 11 วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 ห้อง 223

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

        วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอแผนการสอน ดังนี้

1. หน่วยกล้วย (ฺBanana) >>> สอนเรื่อง ชนิดของกล้วย

2. หน่วยไก่ (Chicken) >>> สอนเรื่อง ลักษณะของไก่

3. หน่วยกบ (Frog) >>> สอนเรื่อง วงจรชีวิตกบ

4. หน่วยปลา (Fish) >>> สอนเรื่อง ประโยชน์และข้อพึงระวัง

5. หน่วยข้าว (Rice) >>> สอนทำ Cooking (ข้าวคลุกไข่)

ส่วนผสม (ingredient)
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
ต้นหอม 2 ช้อนโต๊ะ
แครท 2 ช้อนโต๊ะ 
ไข่ไก่ คนละ 2 ฟอง

6. หน่วยต้นไม้ (Tree) >>> สอนเรื่อง ชนิดของต้นไม้

7. หน่วยนม (Milk) >>> สอนเรื่อง ลักษณะของนม
มีการทดลอง นมเปลี่ยนสี


8. หน่วยน้ำ (Water) สอนเรื่อง >>> การอนุรักษ์น้ำ

9.หน่วยมะพร้าว (Coconut) >>> สอนเรื่อง การปลูกมะพร้าว

10. หน่วยผลไม้ (Fruit) >>> สอนทำ Cooking (ผลไม้ผัดเนย)

ส่วนผสม (ingredient)
เนย 1 ช้อนโต๊ะ
ข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ
ฝรั่ง 2 ช้อนโต๊ะ
แอปเปิ้ล 2 ช้อนโต๊ะ
สับประรด 2 ช้อนโต๊ะ
อุปกรณ์ตกแต่งจาน

เทคนิคการสอน (Teaching methods)

1. มีการสอนให้ลงมือปฎิบัติจริง
2. ให้คำแนะนำและรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางแก้ไข
3. มีการใช้คำถามที่หลากหลายสามารถนำไปใช้ได้

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)

1. สามารถนำไปสอนเด็กในหน่วยต่างๆ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้
2. สามารถให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติจริง ในการทำ Cooking

ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)

ตนเอง : 60% ออกไปสอนยังไม่ดี สอนไม่ค่อยรู้เรื่อง สอนไม่ตรงแผนที่เขียนไป สื่อการสอนไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ จะนำไปปรับปรุงและจะฝึกฝนให้การสอนมีประสิทธิ์ภาพมากยิ่งขึ้น
เพื่อน : 80 % เพื่อนแต่ละกลุ่มตั้งใจออกมาทดลองสอนกันดีมาก แต่อาจมีบางกลุ่มยังสอนไม่ค่อยเข้าใจ 
อาจารย์ : 100% อาจารย์ให้คำแนะนำในการออกไปทดลองสอนดีมาก สามารถนำไปปรับปรุงในภายหลังได้ มีการบอกเทคนิคในการสอนของแต่ละหน่วย บอกการทำสื่อการสอนควรเป็นแบบไหน




วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน

 วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 10 วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 ห้อง 223

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

         วันนี้อาจารย์ได้พูดถึงกรอบวิทยาศาสตร์ซึ่งสำคัญต่อวิชานี้มาก ให้นักศึกษากลับไปดูกรอบวิทยาศาสตร์มา

แนวคิดพื้นฐานวิทยาศาสตร์

1. การเปลี่ยนแปลง
2. ความแตกต่าง
3. ความสมดุล
4. การปรับตัว
5. การพึ่งพาอาศัยกัน 

***การทำของเล่นวิทยาศาสตร์ อยู่ในศิลปะสร้างสรรค์


ค้นคว้าเพิ่มเติม : กรอบวิทยาศาสตร์

วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมการทดลองมาให้ทำในห้องเรียน

การทดลองที่ 1

      ให้แถว 1 และ 2 ปั้นดินน้ำมันเป็นก้อนกลมๆแล้วนำไปหย่อนลงในน้ำสังเกตดูจะเห็นว่าดินน้ำมันนั้นจม จากนั้นให้แถวที่เหลือลองปั้นดินน้ำมันแบบไหนก็ได้ที่มันจะลอยในน้ำได้ ทุกคนเลยปั้นแบนๆบ้างปั้นเหมือนกระทะบ้าง อาจารย์แนะนำว่าลองปั้นดินน้ำมันให้คล้ายเรือดู เรือจะมีท้องเรือที่โปร่งบริเวณนั้นจะเบากว่าน้ำสามารถทำให้เรือลอยอยู่บนน้ำได้


วีดิโอการทดลองเพิ่มเติม : ดินน้ำมันจม-ลอย (Clay sink - float)

การทดลองที่ 2 

      ตัดกระดาษให้เป็นรูปดอกไม้ แต่กระดาษมี 2 อย่าง มีแบบ 100ปอนด์กับกระดาษA4 และระบายสีดอกไม้ จากนั้นให้พับกลีบของดอกไม้เข้าแล้วนำดอกไม้ไปลอยน้ำ ดอกไม้ที่เป็นกระดาษA4 กลีบดอกไม้จะคลายเร็วกว่ากระดาษ100ปอนด์ เพราะมีเยื่อกระดาษที่บางกว่า การทดลองนี้เหมือนลักษณะ การดูดซึมน้ำของต้นไม้


วิดีโอการทดลองเพิ่มเติม : ดอกไม้กระดาษลอยน้ำ (Paper flowers floating)

การทดลองที่ 3

        นำขวดมาเจาะรู 3 ระดับ ได้แก่ ระดับสูง ระดับกลาง และระดับต่ำ จากนั้นนำเทปกาวมาแปะไว้ทั้ง 3 ระดับ แล้วใส่น้ำให้เต็มขวด ค่อยๆเปิดเทปกาวออกทีละระดับ ให้เด็กๆสังเกตดูว่าระดับไหน ที่น้ำพุ่งไกลกว่ากัน ผลปรากฎว่าระดับต่ำน้ำพุ่งไกลสุด เพราะ โมเลกุลของน้ำมีมาก สามารถทำให้ความดันน้ำเพิ่มขึ้นเมื่อมีความลึกเพิ่มขึ้นถึงทำให้รูระดับต่ำมีน้ำออกมาไกลสุด


วิดีโอการทดลองเพิ่มเติม : แรงดันน้ำ (Water pressure)

การทดลองที่ 4 

        นำขวดน้ำมาต่อเข้ากับสายยางข้างในขวดและให้ปลายสายยางมีภาชนะรองรับน้ำจากนั้นทำการทดลองดูจะเห็นว่า หากนำภาชนะรองรับชูขึ้นบนน้ำจะไม่ไหลแต่ถ้านำลงต่ำกว่าขวดน้ำน้ำก็จะไหล เพราะ น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ



วิดีโอการทดลองเพิ่มเติม : การไหลของน้ำ ( Water flow)

การทดลองที่ 5

        จุดเทียนไว้ 1 เล่ม และใช้แก้วครอบเทียน สังเกตดูเทียนจะค่อยๆดับ เพราะ บริเวณรอบๆจะมีอากาศอยู่เมื่อครอบแก้วลงไปอากาศจะลดน้อยลงทำให้เทียนค่อยๆดับลง


วิดีโอการทดลองเพิ่มเติม : แก้วดับเทียน (Glass candle fire)

การทดลองที่ 6

       นำแก้วใส่น้ำมา 1 ใบ แล้วนำปากกาใส่ลงไปในแก้ว จากนั้นสังเกตดูจะเห็นว่าปากกานั้นขยายใหญ่เพราะว่า เกิดการหักเหของแสงทำให้เรามองเห็นปากกาขยายใหญ่ขึ้น


วิดีโอการทดลองเพิ่มเติม : แก้วน้ำขยายปากกา (Extending a pen mug)

เทคนิคการสอน (Teaching methods)

1. การร่วมอภิปรายแลกแปลี่ยนความคิดเห็น
2. การใช้สื่อต่างๆหรือการทดลองต่างๆเพื่อความเข้าใจมากขึ้น
3. การให้ลงมือกระทำด้วยตนเองเพื่อให้เกิดการเรียนรู้

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)

1. การนำไปสอนในหน่วยการเรียนรู้
2. นำไปจัดการเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กบรูณาการกับวิทยาศาสตร์
3. นำมาการทดลองมาประยุกต์ให้เข้ากับหน่วยการเรียยรู้ต่างๆ เช่น หน่วยต้นไม้

ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)

ตนเอง : 90 % มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและมีส่วนร่วมในการทดลอง อาจมีคุยกะเพื่อนบางนิดหน่อย
เพื่อน : 100 % มาเรียนตรงเวลา สนใจฟัง สนใจดู สนใจร่วมกิจจกรมการทดลองเป็นอย่างดี มีการร่วมตอบคำถามกับอาจารย์ ทำให้บรรยากาศในห้องเรียนดูมีชีวิตชีวา
อาจารย์ : 100 % วันนี้อาจารย์มีการทดลองที่สนุกและมีสาระมาก มีอุปกรณ์ที่พอสำหรับนักศึกษา มีการทดลองให้ดูเพื่อในนักศึกษาได้รู้และนำไปปรับใช้ได้