วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 15 วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 ห้อง 233

ความรู้ที่ได้รับ (Knowledge)
วันนี้อาจารย์ให้คนที่ยังไม่ได้นำเสนองานวิจัย ออกมานำเสนอให้หมด



วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรม แผ่นพับ ( Brochure) สานสัมพันธ์บ้านและโรงเรียน
โดยอาจารย์ให้เขียนแผ่นพับตามหน่วยของเรา กลุ่มดิฉันทำ หน่วยต้นไม้


แผ่นพับสานสัมพันธ์บ้านและโรงเรียน จะประกอบไปด้วย

             ส่วนหน้า : 1. ชื่อโรงเรียน,ชื่อหน่วยการสอน,ชื่อเด็ก,ชื่อครูประจำชั้น
2. เกมการศึกษา เล่นกับลูกเพื่อให้พ่อแม่ใช้เวลาว่างอยู่ที่บ้านได้เล่นกับลูกจะได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น

             ส่วนในของแผ่นพับ : 1. ข่าวประชาสัมพันธ์ 2. สาระที่ควรรู้ หรือ เนื้อหาที่เราสอนในหน่วยต่างๆ 3. เพลงหรือคำคล้องจ้องที่สอนให้ลูกได้ฝึกร้องเพลงที่บ้านได้

เทคนิคการสอน (Teaching methods)

1. การใช้คำถามเพื่อให้เด็กเกิดการสังเกต คำถามที่ให้เด็กได้วิเคราะห์
2. มรการยกตัวอย่างแผ่นพับได้ชัดเจน ทำให้นักศึกษาได้เห็นภาพ
3. กรลงมือปฎิบัติจริง ให้นักศึกษาได้ลงมือกระทำผลงานจริงและค่อยนำมาร่วมกับของเพื่อน

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)

1. สามารถนำความรู่้เกี่ยวกับแผ่นพับไปประยุกต์ใช้ในการให้ความรู้ผู้ปกครองตอนเราจบออกไปแล้ว
2. สามารถนำกิจกรรมในวิจัยมาประยุกต์ใช้สอนเด็กเด็กในหน่วย ไข่ได้ เพื่อเด็กจะได้เรียนรู้ทักษะวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมได้
3. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีการคุยกันในกลุ่มและมีการช่วยกันออกความคิดเห็นได้ดี

ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)
             ตนเอง : ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงเวลา ช่วยคิดเนื้อเรื่องของแผ่นพับให้ความร่วมมือในการทำแผ่นพับ มีส่วนช่วยในการคิดเกมการศึกษาให้กับเพื่อน เผื่อที่จะทำให้แผ่นพับของกลุ่มเราออกมาสมบูรณ์
             เพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์เวลาอาจารย์อธิบายงาน และเพื่อนในกลุ่มมีความสามัคคีกันช่วยกันทำแผ่นพับ ช่วยกันคิด ช่วยกันเขียน ช่วยกันระบายสี ช่วยกันออกความคิดเห็นเกี่ยวกับแผ่นพับทำให้แผ่นพับออกมาเสร็จสมบูรณ์แบบ
              อาจารย์ : อาจารย์มีเทคนิคต่างๆเกี่ยวกับการทำแผ่นพับ มีการให้คำแนะนำในการทำแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด เมื่อทุกกลุ่มทำแผ่นพับเสร็จอาจารย์นำขึ้นให้ดูตัวอย่างของเพื่อนกลุ่มอื่นๆ อาจารย์ได้แนะนำข้อบกพร่องเพื่อเป็นการแก้ไขในส่วนที่ถูกต้องเกี่ยวกับแผ่นพับให้น่าสนใจและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น 

วันนี้เรียนคาบสุดท้าย ปิดคอร์แล้ว อยากจะขอบคุณอาจารย์ที่ค่อยให้คำแนะนำตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่องการเขียนแผนการสอน การทำของเล่นวิทยาศาสตร์ และเรื่องการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ความรู้เหล่านี้สามารถนำไปใช้ได้จริง และสามารถนำไปต่อยอดและบูรณาการกับวิชาต่างๆได้ หนูจะนำความรู้และเทคนิคต่างๆที่อาจารย์ได้สอนมา นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่เด็กปฐมวัยให้มากที่สุดค่ะ




วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู
เรื่อง ฝึกการเขียนเรียงความจากการสังเกต

            โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในเรื่องของ การเขียนเรียงความใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการให้นักเรียนได้สังเกตและได้ปฎิบัติจริงและมีการใช้กระบวนการกลุ่มในการลงความเห็นข้อมูล นักเรียนจะได้มีโอกาศแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์นั้นนอกจากจะสร้างความสนุกสนานให้เด็กแล้ว นักเรียนยังได้เห็นภาพของเนื้อเรื่องเรียงความได้เด่นชัด สามารถขยายความในความคิดออกมาเป็นภาษาของเรียงความได้เป็นอย่างดี
             
             การนำเข้าสู่บทเรียน >>> ให้นักเรียนได้ลงมือปฎิบัติจริง โดยรู้จักจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยเรียกนักเรียนออกมา 2 คน คนแรกใช้วิธีการใช้มือสัมผัสให้ล้วงเข้าไปในถุงผ้า ส่วนคนที่ 2 นั้นใช้ทักษะการชิมรส เรื่องของการใช้ประสาทสัมผัส เมื่อเปลี่ยนไปสิ่งที่เป็นคำตอบก็จะเปลี่ยนไปด้วย ในการใช้มือสัมผัสจะได้คำตอบเป็น รูปร่าง ลักษณะ และการใช้ประสาทสัมผัสโดยการชิมรส สิ่งที่เป็นคำตอบคือ ได้รู้ถึงรสชาติของสิ่งสิ่งนั้น








สรุปความลับของอากาศ

สรุปความลับของอากาศ




บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 14 วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 ห้อง 223

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)
วันนี้นำเสนอวิจัย วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



วิจัยคนที่ 4 น.ส. ณัฐพร ศิริตระกูล >>> ผลของการจัดกิจกรรมการทดลองที่มีผลต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัย

นำเสนอโทรทัศน์ครู

1. จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย >>> Cick
2. สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
3. อนุบาล 3 เรียนวิทยาศาสตร์สนุก >>> Cick
4. การสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 
5. กิจกรรมเรือสะเทินน้ำสะเทินบก >>> Cick
6. ขวดปั๊มลิฟเทียน >>> Cick
7. สีจากกะหล่ำปลีสีม่วง
8.พลังจิตคิดไม่ซื่อ >>> Cick
9. นมสีน้ำยาล้างจาน
10. ทะเลฟองสีรุ้ง >>> Cick
11. บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย >>> Cick
12. สนุกวิทย์ คิดทดลอง ไข่ในน้ำ >>> Cick
13. ความลับของใบบัว >>> Cick
14. สาดสีสุดสนุก >>> Cick

เทคนิคการสอน (Teaching methods)
1. การสรุปวิจัย และโทรทัศน์ครูที่กระชับและได้ใจความสำคัญ
2. การหาเนื้อหาเพิ่มเติม ไม่ใช่จากเว็บไซต์ แต่ควรหาจาห้องสมุดด้วย
3. การใช้คำถามเชิงคิดวิเคราะห์เพื่อให้นักศึกษาได้มีการคิดเพิ่มมากขึ้น

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)
1. นำการทดลองต่างให้โทรทัศน์ครูที่เพื่อนนำเสนอ มาประยุกต์ใช้ในหารสอนเด็กเกี่ยวกับหน่วยต่างๆได้
2. สามารถนำตัวอย่างแผนการสอนไปใช้กับเด็กได้ในอนาคต
3. สามารถนำทักษะวิทยาศาสตร์ต่างๆ ไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์เด็กได้

ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)
               ตนเอง : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัยและโทรทัศน์ครู มีการจดบันทึกเพิ่มเติมในสิ่งที่ตนเองไม่รู้ และมีการตอบคำถามภายในห้องบ้าง
              เพื่อน : เตรียมตัวนำเสนอมาเป็นอย่างดี วิจัยที่เตรียมมาน่าสนใจกันทุกคน สำหรับเพื่อนคนที่ฟังก็ตั้งใจจดบันทึกเพิ่มเติม ไม่ค่อยมีการคุยการเล่นกัน มีการตอบคำถามช่วยอาจารย์ทำให้บรรยากาศดูน่าเรียน
              อาจารย์ : เตรียมตัวสอนมาเป็นอย่างดี มีการให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิจัยและโทรทัศน์ครู มีการใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจในการเรียนมายิ่งขึ้น มีคำแนะนำดีๆให้นักศึกษาได้นำไปประยุกต์ช้เป็นสิ่งที่ดีมากๆ



วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปบทความ

บทความ เรื่อง สอนลูกเรื่องแสงและเงา
 (Teaching Children about Light and Shadow)


          -  แสง ซึ่งเป็นพลังงานรูปแบบหนึ่งที่สิ่งมีชีวิตรับรู้ได้ด้วยตา เป็นเหตุให้มองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเราได้
          - เงา ซึ่งหมายถึง รูปร่างของวัตถุที่แสงผ่านทะลุไม่ได้ ทำให้แลเห็นเป็นเงาตามรูปร่างของวัตถุนั้น
เด็กจะได้เรียนรู้ถึงแหล่งกำเนิดแสง หรือสิ่งที่ปล่อยแสงออกมา ได้แก่
           ดวงอาทิตย์ ที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด
           สัตว์และพืชบางชนิดมีแสง
           การเผาไหม้ของวัตถุบางชนิด เช่น พืช แก๊ส เทียนไข น้ำมัน ฯลฯ ทำให้เกิดแสง
           แสงบางชนิดมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น เช่น แสงไฟฟ้า ไฟฉาย กล้องถ่ายรูป ฯลฯ
           
           - แสงจากดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว แสงจากพืชและสัตว์บางชนิด และแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆที่คนเราทำขึ้น เช่น จากการจุดไฟ เปิดไฟฟ้า เรื่องเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกและจักรวาล และเป็นประโยชน์ที่ทำให้คนเราดำรงชีวิตอยู่ได้ เพราะมีแสงสว่างช่วยให้คนเรามองเห็น และแสงทำให้เกิดเงา ร่มเงาก็เป็นประโยชน์สำหรับสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย ได้อาศัยคลายร้อน ในขณะเดียวกัน หากไม่รู้ถึงโทษของสิ่งเหลานี้ ก็จะทำให้เกิดอันตรายจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การที่เด็กๆเพ่งมองดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงแรงจ้า ก็จะเป็นอันตรายแก่สายตา หรือการที่ปล่อยให้แสงแดดแผดเผาผิวกาย ก็เป็นอันตรายต่อผิวหนังคือ เกิดแผลไหม้เกรียม แสงอาจเกิดจากการเผาไหม้ของวัตถุเช่น เทียน แก๊ส น้ำมัน พืช แสงเหล่านี้อาจเกิดการเผาไหม้เองตามธรรมชาติ และเกิดจากมนุษย์ทำให้เกิด เมื่อเกิดแล้ว จะทำให้มลภาวะเป็นพิษในโลกนี้ ดังนั้น ธรรมชาติเรื่องแสงและเงาเป็นเรื่องใกล้ตัว อยู่ในชีวิตประจำวันของเรา จึงควรได้จัดประสบการณ์ให้แก่เด็กปฐมวัย

การสอนเรื่องแสงและเงาสำคัญเพราะ แสงสว่างและเงา เป็นเรื่องที่เด็กเห็นว่าเกิดขึ้นในชีวิต เป็นความจริงว่ามีอยู่ จึงเป็นเรื่องที่ควรสอนให้รู้ว่าสิ่งนี้คืออะไร ในหลัก สูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศ้กราช 2546 ได้กำหนดสาระที่ควรเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัวไว้ให้เด็กเรียน และกล่าวถึงแนวคิดที่ควรเกิด หลังจากเด็กเรียนรู้ธรรมชาติว่ามีอะไร เราพึ่งพาสิ่งเหล่านั้นเพื่อการดำรงชีวิตอย่างไร สิ่งเหล่านั้นมีรูปร่าง ลักษณะอย่าง ไร ให้คุณและโทษอย่างไร เรามีเหตุผลอะไรที่ควรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไว้ นอกจากนี้ การเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัวเป็นการส่ง เสริมการเรียนวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัย เพราะวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สืบค้นหาความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยใช้กระบวน การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กได้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบๆตัวเขา เป็นการเกิดความรู้ที่เป็นประสบการณ์ตรง ขณะเดียวกัน เมื่อเด็กเรียนวิทยาศาสตร์ เด็กจะได้รับการพัฒนาคุณ 


สรุปงานวิจัย

สรุปงานวิจัย
ชื่องานวิจัย : ทักษะกระบวนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน

ชื่อผู้วิจัย : นางสาวอัจฉราภรณ์ เชื้อกลาง  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วัตถุประสงค์ของการวิจัย : 1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมที่มุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนก่อนและลหังการทดลอง

ตัวแปรที่ศึกษา : ตัวแปรต้น >>> การได้รับประสบการษของเด็กปฐมวัย ได้แก่
1. ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมอย่างมีแบบแผน
2. ประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแบบแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติ
ตัวแปรตาม >>> ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ด้านทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการแสดงปริมาณ ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลงความเห็น ทักษะการหามิติสัมพันธ์

สมมติฐานของการวิจัย : เด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างแบบแผนจะมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกติของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

ประชากร : ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนเขมราฐ สำนักงานการประถมศึกษอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 60 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : 1. แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 แผน และแผนการจัดประสบการณ์การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผนจำนวน 18 แผน
2. แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์ของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 จำนวน 30 แผน และแผนการจัดประสบการณ์การเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์แบบปกตอ จำนวน 18 แผน
3. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ จำนวน 6 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 60 ข้อ

ตัวอย่าง แผนการสอน
หน่วย สัตว์เลี้ยงของฉัน

ความคิดรวบยอด : สัตว์เลี้ยงมีมากมายหลายชนิด และมีชื่อเรียกแตกต่างกัน
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม :
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน : จัดเด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลม เด็กและครูร้องเพลงร่วมกัน
ขั้นสอน : นำภาพสัตว์เลี้ยงประมาณ 5 ชนิด (หมู เป็ด ไก่ ว้ว นก) ใส่กระเป๋าผนังทีละตัว เด็กและครูร่วมสนทนาเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง โดยครูใช้คำถามดังนี้
" เด็กๆรู้จักสัตว์ในภาพนี้ไหม มีชื่อว่าอะไร (ถามจนครบทุกตัว) "
" เด็กๆเคยเห็นสัตว์เหล่านี้ที่ไหนบ้าง "

คำถามให้เด็กสังเกตหรือสื่อความหมาย เช่น
" สัตว์แต่ละตัวมีเสียงร้องเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร "
" เด็กๆรู้จักสัตว์เลี้ยงอื่นๆอีกหรือไม่ "

คำถามให้เด็กลงความเห็น เช่น
" สัตว์เลี้ยงชนิดใดที่ตัวใหญ่-เล็กที่สุด หางสั้น-ยาวที่สุด"
" ให้เด็กๆแบ่งสัตว์ที่เราเลี้ยงไว้กินเนื้อเป็นอาหารกับสัตว์ที่เราเลี้ยงไว้ดูเล่น "

คำถามให้เด็กจำแนกหรือแสดงปริมาณ เช่น
" เด็กๆมีของใช้หรือของเล่นที่มีในห้องเรียนอะไรบ้างที่มีรูปร่างคล้าย สี่เหลี่ยม "

ขั้นสรุป >>> คำถามหามิติสัมพันธ์
            เด็กและครูร่วมกันสรุปเกี่ยวกับชื่อและลักษณะของสัตว์เลี้ยง


วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 13 วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 ห้อง 223

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

วันนี้อาจารย์ให้นำของเล่นวิทยาศาสตร์ (Science Toys)มาส่งอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะนำมาจัดเป็นกลุ่ม ดังต่อไปนี้
      - กลุ่ม การเกิดจุดศูนย์ถ่วง (The center of gravity)
      - กลุ่ม เกิดจากพลังงานหรือแรง (Of energy or force)
      - กลุ่ม การใช้แรงดันลม (Using pressure)
      - กลุ่ม สำหรับจัดเข้ามุม (The corner)
      - กลุ่ม การทำให้เกิดเสียง (Sounding)

ตัวอย่างของเล่นวิทยาศาสตร์กลุ่มต่างๆ

นำเสนอวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย





กิจกรรมในห้องเรียน >>> วันนี้อาจารย์ให้ทำ Cooking วาฟเฟิล

ส่วนผสม (ingredient)และอุปกรณ์ในการทำ

- แป้งวาฟเฟิล
- ไข่ไก่
- เนย
-ที่คนแป้ง
- ชาม
- ถ้วยแบ่ง
- น้ำ
- เตาอบวาฟเฟิล


ขั้นตอนการทำ (Procedures)

- ผสมแป้งวาฟเฟิลกับน้ำทีละนิดและใส่ไข่ไก่ เนย ลงไปคนให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน
- คนไปเรื่อยๆให้ส่วนผสมทั้งหมดเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นให้สังเกตเนื้อแป้งไม่ให้เนื้อแป้งข้นจนเกินไปและเหลวจนเกินไป
- จากนั้นให้ตักแบ่งแป้งวาฟเฟิลใส่ถ้วยแบ่งคนละถ้วยเพื่อนำไปเทลงบนเตาอบวาฟเฟิล


- การเทแป้งวาฟเฟิลนั้นต้องเทให้อยู่ตรงกลางของเตาอบและปิดฝารอจนสุก รอบแรกเราเทข้างละ 1 ถ้วย วาฟเฟิลจะออกมาแบบไม่เต็มแผ่น เลยทดลองเทอีกครั้ง เทข้างละ 1 ถ้วยครึ่ง ผลออกมานั้น วาฟเฟิลของเราออกมาสวยเต็มแผ่นน่ากินมาก


                     ในการทำวาฟเฟิลในครั้งนี้เป็นการทำ Cooking แบบง่ายๆ ที่นำไปใช้สอนเด็กได้ ให้เด็กได้เรียนรู้การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง และยังทำให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเองอีกด้วย


เทคนิคการสอน (Teaching methods)
1. การตั้งคำถาม ควรตั้งคำถามเพื่อให้เด็กสังเกตแบบไหน คำถามแบบไหนที่จะให้เด็กฝึกการวิเคราะห์
2. การให้ลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อจะได้เรียนรู้และเกิดประสบการณ์ใหม่ๆ 
3. การสอนทำ Cooking ควรจะสอนเด็กแบบไหน ควรแนะนำอุปกรณ์และส่วนผสมให้เด็กฟังก่อน ขั้นตอนการทำควรบอกเด็กทีละขั้นตอนอย่างละเอียด
4. การนำเสนอหน้าชั้นเรียน ควรพูดเฉพาะที่สำคัญๆ พูดอย่างมั่นใจ พูดคำควบกล้ำให้ถูกต้อง

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)
1. สามารถนำแผนการสอนในวิจัยที่เพื่อนนำเสนอมาปรับประยุกต์เพื่อใช้สอนเด็กๆได้
2. สามารถนำวิธีการทำ Cooking ในวั้นนี้ไปให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติได้
3. สามารถนำทักษะวิทยาศาสตร์ไปต่อยอดในการจัดกิจจกรมให้กับเด็กได้เรียนรู้ที่เต็มศักย์ภาพได้

ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)
       
         ตนเอง : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัย และมีการจดบันทึกเพิ่มเติมในการทำกิจจกรม Cooking ตั้งใจในการทำมาก และมีส่วนร่วมในการช่วยเพื่อนทำรู้สึกชอบมากหอมไปทั่วห้อง อยากให้มีทำ cooking ในทุกๆคาบเลย
        เพื่อน : ตั้งใจและมีส่วนร่วมในการช่วยตอบคำถามในห้อง ฟังเพื่อนและช่วยเพื่อนตอบตอนนำเสนอวิจัย มีการจดบันทึกเพิ่มเติม เพื่อนๆร่วมด้วยช่วยกันในการทำกิจกรรม cooking อย่างมาก ทำให้กิจกรรมในครั้งนี้เป็นอย่างราบรื่น และรับประทานวาฟเฟิลที่ตัวเองทำอย่างอร่อย
        อาจารย์ : อาจารย์ได้แนะนำเทคนิคในการนำเสนองานวิจัยเป็นอย่างดี ในการทำกิจกรรมอาจารย์มีของเตรียมให้ทำให้สะดวกสบายมาก มีการอธิบายขั้นตอนการทำอย่างละเอียดทีละขั้นตอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจการทำวาฟเฟิลและทำออกมาได้สมบูรณ์แบบ อาจารย์ได้แนะนำวิธีการเทวาฟเฟิลที่ออกมาสวยแบบเต็มแผ่น ทำให้วาฟเฟิลของเราดูน่ากินมากยิ่งขึ้น