วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 9 วันที่ 18 ตุลาคม 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30  น. ห้อง 223

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

    วันนี้อาจารย์ได้เรียนชดเชยวันเสาร์ เพราะวันพฤหัสบดีที่ 23 หยุด

     วันนี้เรียนเกี่ยวกับ การเขียนแผนการจัดประสบการณ์


สรุปเป็น Mind Map 


ขั้นนำ : ใช้ เกม (game) , นิทาน (tale) , เพลง (Music) , คำคล้องจอง (rhymes) หรือ ใช้คำถามเพื่อทบทวนความจำ
ขั้นสอน : ใช้ถามคำถาม อาจจะมีภาพให้เด็กดู และถามเด็กว่า จากภาพเด็กๆเห็นลักษณะเป็นอย่างไร
ขั้นสรุป : ครูกับเด็กร่วมกันอภิปราย หรือทำเป็นตารางการคิดวิเคาระห์
*** เน้นกิจกรรมเสริมประสบการณ์ >>> Cick , Cick , Cick

เทคนิคการสอน (Teaching methods)

1. การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ที่ถูกต้อง
2. มีทักษะการคิดวิเคราะห์เกิดขึ้น (Analytical Thinking Skills)
3. การสอนแบบบูรณาการเชื่อมโยงกับวิชาอื่น

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)

1. การเขียนแผนการสอนควรเขียนให้สริมประสบการณ์เด็ก
2. การนำเรื่องใกล้ตัวเด็กหรือเรื่องที่เด็กสนใจมาเขียนแผนการสอน
3. การเขียนแผนการสอนควรพัฒนาเด็กแบบองค์รวม หรือ พัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน

ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)

ตนเอง : 85% มาเรียนตรงเวลา แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแผนอยู่นิดหน่อย แต่จะไปศึกษาเพิ่มเติม และ ฝึกฝนเยอะๆ
เพื่อน : 90% เพื่อนให้ความร่วมมือในการเขียนแผนดีมาก และยังช่วยกันตอบคำถามในชั้นเรียน เพื่อให้การเรียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
อาจารย์ : 100% มีการอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนอย่างละเอียด ทุกๆขั้นตอน ทำให้เข้าใจมากขึ้น มีการแนะนำการเรียนแผนของแต่ละกลุ่มเพื่อให้แต่ละกลุ่มไปปรับใช้



บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 8 วันที่ 16 ตุลาคม 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 223

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์

ชื่อของเล่น : ปิ๊งป่อง
อุปกรณ์ : 1.ไม้หนีบผ้าขนาดต่างกัน 2. ไม้ไอติม 3. ตัวฟิวหลอดไฟที่ไม่ได้ใช้ 4. ช้อนพลาสติกหรือฝาขวดน้ำ 5. แผ่นรอง


วิธีการทำ : 1.นำฟิวหลอดไฟที่ไม่ได้ใช้มาติดกับไม้หนีบผ้า 
2. นำช้อนพลาสติหรือฝาขวดน้ำมาติดเข้ากับไม้ไอติม
3. นำทั้ง 2 อย่างมาประกอบเข้าด้วยกันและติดเข้ากับแผ่นรอง


วิธีการเล่น : ให้เด็กใส่ลูกกระสุนในช้อนหรือฝาขวดน้ำและให้เด็กกดไม้หนีบและปล่อย สังเกตลูกกระสุนว่าของใครไปไกลกว่ากัน

สรุปของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เพื่อนๆ นำเสนอ เป็น Mind Map


ตัวอย่าของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เพื่อนๆนำเสนอ


เทคนิคการสอน (Teaching methods)

1. การนำเสนอผลงาน
2. การอภิปราย (debate)
3. การใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)

1. นำไปให้เด็กทำ โดยให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติเอง
2. นำสื่อไปทำกิจกรรมกับเด็กเพื่อนให้เกิดกระบวนการคิดสร้างสรรค์ (creative)
3. เสริมสร้าง (strengthen) ทักษะทางวิทยาศาสตร์ (Scientific skills) โดยจัดของเล่นให้เด็กเล่นในมุมวิทยาศาสตร์

ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)

ตนเอง : 95% มีของเล่นมานำเสนอ เตรียมการนำเสนอเป็นอย่างดี มาเรียนตรงเวลา
เพื่อน : 100% มาเรียนตรงเวลา เตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดี ของเล่นวิทยาศาสตร์มีความคิดสร้างสรรค์เหมาะสำหรับไปใช้กับเด็ก
อาจารย์ : 100% อาจารย์มีช่วยอธิบายเพิ่มเติมความรู้ให้ครบถ้วยมากยิ่งขึ้น และแนะนำว่าของเล่นแต่ละอย่างเหมาะที่จะเล่นแบบใด





วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 7 วันที่ 2 ตุลาคม 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 223

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

        ทฤษฎี Constructionism : Cick
        ทักษะวิทยาศาสตร์ สามารถบรูณาการกับศิลปะสร้างสรรค์ได้

วันนี้อาจารย์ให้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกนกระดาษเช็ดชู่

อุปกรณ์ (Equipment)

1.กระดาษสี (color Paper)
2.ไหมพรม (yarn)
3.แกนกระดาษเช็ดชู่ (Tissue Paper)
4.กรรไกร (Scissors)


วิธีทำ (How to)

    นำแกนกระดาษเช็ดชู่มาตัดแบ่งครึ่ง และนำกระดาษสีมาตัดเป็นวงกลมและวาดรูปลงไป จากนั้นนำที่เจาะกระดาษเจาะแกนกระดาษเช็ดชู่ให้ทะลุทั้ง 2 ด้าน และร้อยไหมพรมเข้าไปในรู ให้ทะลุอีกข้างหนึ่ง จากนั้นให้ติดกระดาษสีที่วาดรูปเสร็จแล้วไว้ตรงกลางแกนกระดาษเช็ดชู่


วิธีเล่น (How to Play)

   จับปลายเชือกด้านล่างทั้ง  2 ข้าง แล้วดึงขึ้นลง สังเกตแกนกระดาษเช็ดชู่มันจะค่อยๆเลื่อนขึ้นข้างบนตามแรงดึง


นำเสนอบทความ ( Science Articles )

1. เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก "เป็ด" และ "ไก่" : Cick
    ครูปฐมวัยสอนนักเรียนอนุบาลเรียนรู้วิทย์จาก เป็ดและ ไก่เริ่มจากเล่านิทานก่อน แล้วเอาลูกเจี๊ยบกับลูกเป็ดมาให้สังเกตลักษณะกันใกล้ๆ พร้อมตั้งคำถามเชิงวิทยาสาสตร์ให้สืบค้น และพาทัวร์ฟาร์มเป็ด-ไก่ของ อบต.ก่อนให้นำเสนอผ่านรูปภาพ 

2. เรื่อง จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ ....สนุกคิดกับของเล่นวิทย์ : Cick
     ของเล่นนั้น อยู่คู่กับเด็กทุกคน ทั้งของเล่นพื้นบ้านที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยสืบทอดมาตั้งแต่โบราณกาล  และของเล่นวิทยาศาสตร์ ที่สามารถกระตุ้นและจุดประกายความสนใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กๆ ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายได้ 

3. เรื่อง สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Natural Phenomena) : Cick
    -  สาระที่ควรเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ เด็กจะได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป 

4. เรื่อง สอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about Weather) : Cick
   การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง

สรุปบทความเป็น Mind Map ดังนี้


เทคนิคการสอน (Teaching methods)

1. การสอนโดยเรื่องของการนำเสนอ
2. การสอนในเรื่องของการอภิปราย
3. ใช้การสรุปโดยแผนที่ทางความคิด (mind map )
4. มีการปฎิบัติจริง
5. การเรียนรู้ด้วยตนเอง

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)
1. นำของเล่นวิทยาศาสตร์ไปเล่นกับเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ 
2. สามาารถนำไปบรูณาการกับวิชาอื่นได้ เพื่อนให้เกิดความรู้แบบองค์รวม
ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)

ตนเอง : 95% ตั้งใจเรียนดี มาเรียนตรงเวลา มีความตั้งใจในการทำกิจกรรม
เพื่อน : 100% ทุกคนมีความตั้งใจในการเรียนและการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
อาจารย์ : 100% เตรียมเนื้อหาในการมาเป็นอย่างดี มีกิจกรรมมาให้ทำเพื่อไม่ให้นักศึกษาเครียด 



วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 6 วันที่ 25 กันยายน 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 223


ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

       วันนี้อาจารย์สอนทำ ของเล่นวิทยาศาสตร์ ลูกยางกระดาษ เกี่ยวกับการเอากระดาษมาตัดแล้ว ให้โยนขึ้นสังเกต (notice) ว่าถ้าตัดสั้นแล้วจะหมุนแบบไหน ถ้าตัดยาวแล้วจะหมุนแบบไหน 

อุปกรณ์ (Equipment)

1. กระดาษสี (color Paper)
2. คลิปหนีบกระดาษ (Paperclip)
3. กรรไกร (Scissors)

วิธีทำ (How to)

      ตัดกระดาษเป็นสี่เหลี่ยนผืนผ้าและพับครึ่ง และอาจารย์ได้แบ่งให้แถวที่ 1 และ 2 ตัดกระดาษแค่ครึ่งหนึ่งจากที่พับและใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบตรงปลายของกระดาษ


       ส่วนแถวที่ 3 4 5 ให้ตัดกระดาษลงมายาวถึงรอยพับ และใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบตรงปลายของกระดาษ


         จากนั้นให้แต่ละกลุ่มออกไปทดลอง จะเห็นได้ว่ากลุ่มที่ 1 2 ที่ตัดใบกระดาษสั้นนั้น เวลาโยนขึ้นไปที่หมุนเป็นวงกลมได้ดีและนานกว่า กลุ่มที่ 3 4 5 ที่จะหมุนไม่ค่อยเป็นเป็นวงกลมเท่าไหร่นัก และตรงลงมาอย่างรวมเร็ว เพราะว่า แรงโน้นถ่วง (Gravity) ของใบที่สั้นกว่ามีเยอะกว่าใบที่ยาว

นำเสนอบทความ ( Science Articles )

1. เรื่อง แสงสีในชีวิตประจำวัน : Cick
     
     - แม่ของแสงสีมีทั้งหมด 3 สี คือสีแดง สำน้ำเงิน และสีเขียว 
     - นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองแล้วว่า สีทุกสีบนโลกมาจากแม่สี 3 สี ในอัตราส่วนที่เท่ากัน

2. เรื่อง  เงามหัศจรรย์ต่อสมอง : Cick

    - ดร.วรนาท บอกว่าพัฒนาการรับรู้ที่มีต่อเงาของเด็กนั้นจะเป็นไปตามวัย  เพราะในช่วงเด็กเล็ก (ระดับวัยอนุบาล) เด็กเรียนรู้ผ่านใจ ในวัยนี้เราเรียกว่า Animalism พวกเด็กๆจะเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมีชีวิต ตุ๊กตาจึงพูดได้  พระอาทิตย์ก็ยิ้มได้ เงาจึงมีชีวิตไปด้วย เขาจึงมีปฏิกิริยาต่อเงาสูง  แต่เมื่อพวกเขาโตขึ้นจะคลายการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (egocentric) เด็กๆ ที่มีการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจะเริ่มมีความคิดรวบยอดและเชื่อมโยงความรู้เก่าและใหม่ได้มากขึ้น การรับรู้เรื่องเงาก็จะลึกซึ้งขึ้น เด็กจะค่อยๆ รับรู้เหตุและผล  ความรับรู้เรื่องเงาอาจจะอิงหลักวิทยาศาสตร์มากขึ้น

3. เรื่อง สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม : Cick

    อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างฉลาดและพัฒนาสิ่งแวดล้อม น้ำ และอากาศให้มีคุณภาพเพื่อให้มนุษย์ได้รับประโยชน์ตลอดไป
     - การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม น้ำ อากาศ ในครอบครัวเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติเป็นตัวอย่างให้เด็กเห็นและเลียนแบบ และการที่เด็กมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม น้ำ และอากาศ จะสร้างเสริมประสบการณ์ตรงให้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี

4. เรื่อง วิทยาศาสตร์ระดับเด็กปฐมวัย : Cick

   วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กอายุ  3 – 6  ขวบ  มิได้หมายถึงสาระทางชีววิทยา  เคมี  กลศาสตร์  แต่เนื้อหาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยคือ  สาระเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กที่เด็กควรรู้  การเรียนการสอนมุ่งเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจมากกว่าที่จะจำเป็นองค์ความรู้  การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างจากเด็กวัยอื่นที่เด็กปฐมวัยมีการเจริญของสมองที่รวดเร็วและต้องการการกระตุ้นเพื่อการงอกงามของใยสมองในช่วงปฐมวัย  แต่ขณะเดียวกันพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก  อายุ  2 – 6  ขวบ  ยังเป็นช่วงก่อนปฏิบัติการ  (pre – operative  stage)  เด็กเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง  (self - centered)  และมองสิ่งรอบตัวโดยเน้นที่ตัวของเด็กเอง  เด็กจะรับรู้และคิดถ่ายโยงเป็นทิศทางเดียวไม่ซับซ้อน

5. เรื่อง การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiments) : Cick

   การทดลองทางวิทยาศาสตร์ (Science experiment) เป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กปฐมวัยจะเรียนรู้จากการเล่น การปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจากการได้ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ เช่น การฟัง การเห็น การชิมรส การดมกลิ่น การสัมผัสจับต้องสิ่งต่างๆ กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นการจัดกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเอา mind map หน่วยการเรียนรู้ต่างๆ ออกมาแปะหน้าห้อง 


กลุ่มดิฉันทำเรื่อง ต้นไม้ (Trees)


อาจารย์ได้แนะนำให้ทำ mind map โดยมีหัวข้อใหม่

ชนิดของต้นไม้
ลักษณะ เช่น รูปร่าง,ผิว,ขนาด
การดูแลรักษา
ปัจจัยการเจริญเติบโต
ประโยชน์

จะได้ mind map ออกมาแบบนี้


เทคนิคการสอน (Teaching methods)

1. มีการสอนให้ปฎิบัตจริงด้วยตนเอง ในการทำของเล่นวิทยาศาสตร์
2. มีการสอนเทคนิค การเขียน mind map ว่าควรมีหัวข้อแบบไหนบ้าง
3. มีใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้นักศึกษาได้คิดอย่างอิสระ

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)

1. สามารถนำของเล่นวิทยาศาสตร์ ไปใช้ในการทำกิจกรรมกับเด็กได้
2. mind map หน่วยการเรียนรู้ต่างๆ ง่ายต่อการเขียนแผน ทำให้เราได้รู้ว่าวันไหนเราจะสอนเรื่องอะไร

ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)

ตนเอง : 90% แต่งการเรียนร้อย มาเรียนตรงเวลา สนใจในการเรียนดี แต่มีคุยกับเพื่อนบ้างเล็กน้อย
เพื่อน : 95% เพื่อนมีงานส่งครบทุกกลุ่ม และตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
อาจารย์ 100% เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี ตั้งใจและมีเนื้อหาในการสอนครบถ้วน มีการในเทคนิคในการสอนต่างๆเพื่อใหเนักศึกษาเข้าใจในการเรียนมากขึ้น




วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ความลับของแสง

สรุป ความลับของแสง


        แสง เป็นคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนคลื่นน้ำในทะเลเป็นคลื่นที่มีความยาวคลื่นสั้นมาก แสงเคลื่อนที่ได้เร็วมากตั้ง 300000 กิโลเมตร/วินาที ถ้าเราวิ่งได้เร็วเท่ากับแสงเราจะสามารถวิ่งรอบโลกได้ 7 รอบภายในเวลา1วินาที

การทดลอง

วิธีทำ :   หากนำกล่องใบใหญ่ที่มีฝาปิดเจาะรูข้างกล่อง 1 รู และนำของต่างๆมาใส่ในกล่องหลังจากนั้นปิดฝากล่องและมองเข้าไปในรูที่เจาะไว้ จะเห็นว่ามันมือสนิทจากนั้นค่อยๆเปิดฝากล่องออกจะเห็นวัตถุในกล่อง ลองเจาะรูเพิ่มอีหนึ่งรู แล้วเอาไฟฉายมาส่องไปที่ีรูที่เจาะใหม่เราจะมองเห็นของในกล่อง


สาเหตุ :   ที่เรามองเห็นวัตถุรอบตัวได้นั้นนอกจากแสงต้องส่องลงมาโดนกับวัตถุ แสงยังต้องสะท้อนกับวัตถุเข้ามาสู่ตาของเรา เราถึงมองเห็นวัตถุนั้นได้ซึ่งตาของเรา คือ จอสำหรับรับแสงที่สะท้อนมาจากวัตถุนั่นเอง

ตัวอย่างการทดลอง การเคลื่อนที่ของแสง


คุณสมบัติ :  แสงเดินทางออกมาเป็นเส้นตรงอย่างเดียวและไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง วัตถุบางชนิดที่แสงสามารถทะลุผ่านไปได้วัตถุ วัตถุบนโลกเมื่อมีแสงตกมากระทบจะมีคุณสมบัติ 3 แบบ 2 แบบแรกได้แก่ วัตถุโปร่งแสง (translucent objects)  วัตถุโปร่งใส (transparent objects) และ วัตถุทึบแแสง (Opaque object) ส่วนใหญ่วัตถุบนโลกนี้เป็นวัตถุทึบแสง


ประโยนช์ :   การเคลื่อนที่ของแสงที่เป็นเส้นตรงเรานำมาใช้ทำกล้องฉายภาพแบบต่างๆได้

การทดลอง 
ตัวอย่างการทดลอง กล้องรูเข็ม


        ที่ภาพกลับหัวตากต้นแบบ เพราะแสงเดินทางเป็นเส้นตรงผ่านรูเล็กๆอย่างรูกระป๋องภาพที่ได้จึงเป็นภาพหัวกลับ จากนั้นลองเจาะอีกรูจะเห็นรูปซ้อนกัน เพราะว่าแสงส่วนบนของภาพวิ่งเป็นเส้นตรงผ่านรูเล็กๆมาตกกระทบที่ด้านล่างของกระดาษไข และแสงส่วนล่างของภาพวิ่งผ่านตรงรูเล็กๆมาตกกระทบที่ด้านบนของกระดาษไข 


คุณสมบัติ : การสะท้อนของแสง >> ไฟฉายกับกระจกเงา >> แสงจะสะท้อนกลับทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางที่ฉายแสงออกมาเสมอๆ

ประโยนช์ : เงาของเราที่เกิดจากกระจกกระจก เกิดจากการสะท้อนของแสง

ตัวอย่างการเกิดเงา


การทดลอง : ลองใช้กระจกเงาสะท้อนภาพของวัตถุจะเห็นว่ามีเงาเกิดขึ้นแค่ 1 ภาพ จากนั้นเอากระจกเงาอีก 1 บาน มาวางทำมุม 90 องศา กับกระจกเงาบานแรกและนำวัตถุมาวางตรงกลางรอยต่อของกระจกจะเห็นว่ามีภาพของวัตถุเกิดขึ้นเยอะ ถ้าลองบีบมุมของกระจกให้แคบลงอีกจะเห็นภาพของวัตถุมากกว่าเมื่อกี้ ถ้าบีบมุมของกระจกให้แคบลงอีกเงาสะท้อนจะมีมากขึ้นตามไปด้วย ที่เราเห็นภาพในกระจกมากขึ้นนั้นเป็นเพราะมุมในการวางกระจก ยิ่งมุมที่ประกบกันนั้นมีองศาแคบลงเท่าไหร่ภาพที่ปรากฏในกระจกก็จะมากขึ้นเท่านั้น เป็นเพราะว่ากระจกทั้งสองบานต่างสะท้อนภาพกันไปมา

การทดลอง : เรื่องหลักการสะท้อนแสง >> กล้องฮาโรโดสโคป
     
      กระจก 3 บานใช้หลักการสะท้อนของแสงและมุมประกอบกันของกระจก เมื่อแสงตกกระทบในกระบอกทางสามเหลี่ยมและสะท้อนไปสะท้อนมาทำให้เกิดภาพมากมาย หลักการสะท้อนแสงสามารถนำมาใช้ประโยนช์ในการมองหาวัตถุที่ไม่สามารถมองเห็นในที่สูงๆได้ เช่น กล้องส่องภาพเหนือระดับสายตา วิธีนี้นำมาใช้เป็นกล้องส่องดูวัถตุที่อยู่เหนือน้ำของเรือดำน้ำด้วย


ตัวอย่าง กล้องส่องภาพเหนือระดับสายตา



หลักการหักเหของแสง แสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละชนิดกัน  
ประโยนช์ : สามารถนำมาใช้ประดิษฐ์เลนแบบต่างๆได้ เลน คือแผ่นแก้วหรือแผ่นกระจกที่ถูกทำให้ผิวโค้งนู้นออกมาเพื่อใช้ประโยนช์ในการขยายภาพ


การทดลองเลนรวมเส้นทางเดินแสง เลนนู้นนอกจากจะใช้รวมแสงแล้วเรายังสามารถใช้จุดไฟได้อีกด้วย

เงากับแสง : เงาเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับแสงและเงาเกิดขึ้นได้เพราะแสง
การทดลอง >> การเกิดเงา


เงาเกิดได้หลายแบบ เงาของวัตถุจะเกิดขึ้นได้จากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆ เมื่อมีวัถตุเข้ามาขวางทาวงเดินแสงไว้ พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุจะดูดกลื้นและสะท้อนบางส่วนมาแต่พื้นที่ด้านหลังของวัตถุแสงส่องไปไม่ถึงต้องเกิดเป็นพื้นที่สีดำ เรียกว่า เงา (shadows)



วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึนอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 5 วันที่ 18 กันยายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.30 น. ห้อง 223

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)


นำเสนอบทความ ( Science Articles )

1. เรื่อง เด็กๆอนุบาลสนุกกับ สะเต็มศึกษา ผ่านโครงการปฐมวัย : Cick 
     เป็น กระบวนการเชิงวิทยาศาสตร์ คำว่า " STEM" คือ การสอนแบบบูรณาการ ระหว่าง 
S = วิทยาศาสตร์  (Science)
T = เทคโนโลยี  (Technology)
E = วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer)
M = คณิตศาสตร์ (Math)

แนวคิด 5 ข้อ 
1. เน้นการบูรณาการ
2. เชื่อมโยงเนื้อหา
3. พัฒนาทักษะ
4. ท้าทายความสามารถ
5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น

2. เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ? : Cick
   ครูใช้วิธีการบูรณาการ และให้เด็กค้นหาความรู้ด้วยตนเอง

ประโยนช์ของกิจกรรมนี้คือ
1. เด็กได้มีโอกาสค้นหาทรัพยากร
2. ได้ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า
3. มีความรู้เกี่ยวกับโลกของเรา
4.ทำให้เกิดการต่อยอดความรู้พื้นฐานระหว่างความรู้เก่าและความรู้ใหม่

3. บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์ : Cick

     ดร. ทอมัส ทิลมันน์ ปลูกฝังความรักทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้แบบธรรมชาติ เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้โดยที่เด็กไม่รู้ตัวมีความอิสระอย่างเสรี ทั้งหมดนี้คือการเล่นสำหรับเด็ก
     โจคิม เฮคเกอร์ (ผู้เขียนตำราวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย) แนะนำให้ผู้ใหญ่ต้องใส่เทคนิค เล่าเรื่องพร้อมกับใส่การทดลองประกอบแบบง่ายๆ เพื่อให้เด็กได้ลงมือทำ ค้นคว้าและทำการทดลอง เด็กจะเห็นผลลัพธ์ด้วยตา เด็กๆสนุกสนานประทับใจและตื่นเต้นกับการทดลองที่เกิดขึ้น

วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำในห้องเรียน ให้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์

อุปกรณ์ (Equipment)

1. กระดาษสี (color Paper)
2.ไม้เสียบลูกชิ้น
3.กรรไกร (Scissors)
4.เทปกาว (Tape)



วิธีทำ (How to ) 

1. ตัดกระดาษสีเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพับครึ่ง
2. วาดรูปในสัมพันธ์กันทั้งด้านหน้าและด้านหลังของกระดาษสี เช่น ดอกไม้กับผีเสื้อ
3. นำไม้เสียบลูกชิ้นมาติดเทปกาวไว้ด้านในของกระดาษสี
4. ติดขอบด้านข้างของกระดาษสี 
5. ทดลองหมุนแบบช้าๆดูและลองหมุนแบบเร็วๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงว่ามีอะไรเกิดขึ้น และการหมุนทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร


จากการทดลอง เวลาหมุนเร็วๆ จะเห็นได้ว่ารูปทั้ง สอง มันซ้อนกันเหมือนภาพสามมิติ ถ้าวาดและกะระยะให้พอดีก็จะเหมือนว่าผีเสื้อกำลังบินตอมดอกไม้อยู่ในเอง

เทคนิคการสอน (Teaching methods)

1. มีการใช้สื่อด้วยเพลง ให้นักศึกษาได้คิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ก่อนลงมือทำกิจกรรม
2.มีการสอนให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติจริง
3. มีการให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการคิดและการตอบคำถาม

การนำไปประยกต์ใช้ (Applications) 

1. สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กเพื่อฝึกการสังเกต( observation )ได้
2. สามารถนำกิจกรรมไปต่อยอดในการสอนครั้งต่อไปได้ หรือสามารถนำไปบูรณาการกับ วิชาศิลปะสร้างสรรค์ได้

ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)

ตนเอง : 85% แต่งตายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา แต่การทำกิจกรรมรูปภาพที่ออกมานั้นเวลาทดสอบแล้วภาพมันไม่เกิดการซ้อนกัน ต้องกับไปปรุบปรุง
เพื่อน : 90% ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและทุกคนสามารถทำออกมาได้ดี จะมีพูดคุยกันบ้างแต่ส่วนน้อย
อาจารย์ : 100% มีสื่อให้น่าสนใจในการเรียนการสอน มีการพูดคุยระหว่างการเรียนทำให้ไม่น่าเบื่อ มีเนื้อหาที่น่าสนใจในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ