วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึนอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 5 วันที่ 18 กันยายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.30 น. ห้อง 223

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)


นำเสนอบทความ ( Science Articles )

1. เรื่อง เด็กๆอนุบาลสนุกกับ สะเต็มศึกษา ผ่านโครงการปฐมวัย : Cick 
     เป็น กระบวนการเชิงวิทยาศาสตร์ คำว่า " STEM" คือ การสอนแบบบูรณาการ ระหว่าง 
S = วิทยาศาสตร์  (Science)
T = เทคโนโลยี  (Technology)
E = วิศวกรรมศาสตร์ (Engineer)
M = คณิตศาสตร์ (Math)

แนวคิด 5 ข้อ 
1. เน้นการบูรณาการ
2. เชื่อมโยงเนื้อหา
3. พัฒนาทักษะ
4. ท้าทายความสามารถ
5. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น

2. เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร ? : Cick
   ครูใช้วิธีการบูรณาการ และให้เด็กค้นหาความรู้ด้วยตนเอง

ประโยนช์ของกิจกรรมนี้คือ
1. เด็กได้มีโอกาสค้นหาทรัพยากร
2. ได้ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า
3. มีความรู้เกี่ยวกับโลกของเรา
4.ทำให้เกิดการต่อยอดความรู้พื้นฐานระหว่างความรู้เก่าและความรู้ใหม่

3. บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์ : Cick

     ดร. ทอมัส ทิลมันน์ ปลูกฝังความรักทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้แบบธรรมชาติ เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้โดยที่เด็กไม่รู้ตัวมีความอิสระอย่างเสรี ทั้งหมดนี้คือการเล่นสำหรับเด็ก
     โจคิม เฮคเกอร์ (ผู้เขียนตำราวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย) แนะนำให้ผู้ใหญ่ต้องใส่เทคนิค เล่าเรื่องพร้อมกับใส่การทดลองประกอบแบบง่ายๆ เพื่อให้เด็กได้ลงมือทำ ค้นคว้าและทำการทดลอง เด็กจะเห็นผลลัพธ์ด้วยตา เด็กๆสนุกสนานประทับใจและตื่นเต้นกับการทดลองที่เกิดขึ้น

วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำในห้องเรียน ให้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์

อุปกรณ์ (Equipment)

1. กระดาษสี (color Paper)
2.ไม้เสียบลูกชิ้น
3.กรรไกร (Scissors)
4.เทปกาว (Tape)



วิธีทำ (How to ) 

1. ตัดกระดาษสีเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และพับครึ่ง
2. วาดรูปในสัมพันธ์กันทั้งด้านหน้าและด้านหลังของกระดาษสี เช่น ดอกไม้กับผีเสื้อ
3. นำไม้เสียบลูกชิ้นมาติดเทปกาวไว้ด้านในของกระดาษสี
4. ติดขอบด้านข้างของกระดาษสี 
5. ทดลองหมุนแบบช้าๆดูและลองหมุนแบบเร็วๆ สังเกตการเปลี่ยนแปลงว่ามีอะไรเกิดขึ้น และการหมุนทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร


จากการทดลอง เวลาหมุนเร็วๆ จะเห็นได้ว่ารูปทั้ง สอง มันซ้อนกันเหมือนภาพสามมิติ ถ้าวาดและกะระยะให้พอดีก็จะเหมือนว่าผีเสื้อกำลังบินตอมดอกไม้อยู่ในเอง

เทคนิคการสอน (Teaching methods)

1. มีการใช้สื่อด้วยเพลง ให้นักศึกษาได้คิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ก่อนลงมือทำกิจกรรม
2.มีการสอนให้นักศึกษาได้ลงมือปฎิบัติจริง
3. มีการให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการคิดและการตอบคำถาม

การนำไปประยกต์ใช้ (Applications) 

1. สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กเพื่อฝึกการสังเกต( observation )ได้
2. สามารถนำกิจกรรมไปต่อยอดในการสอนครั้งต่อไปได้ หรือสามารถนำไปบูรณาการกับ วิชาศิลปะสร้างสรรค์ได้

ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)

ตนเอง : 85% แต่งตายเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลา แต่การทำกิจกรรมรูปภาพที่ออกมานั้นเวลาทดสอบแล้วภาพมันไม่เกิดการซ้อนกัน ต้องกับไปปรุบปรุง
เพื่อน : 90% ตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและทุกคนสามารถทำออกมาได้ดี จะมีพูดคุยกันบ้างแต่ส่วนน้อย
อาจารย์ : 100% มีสื่อให้น่าสนใจในการเรียนการสอน มีการพูดคุยระหว่างการเรียนทำให้ไม่น่าเบื่อ มีเนื้อหาที่น่าสนใจในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น