วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 7 วันที่ 2 ตุลาคม 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น. ห้อง 223

ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)

        ทฤษฎี Constructionism : Cick
        ทักษะวิทยาศาสตร์ สามารถบรูณาการกับศิลปะสร้างสรรค์ได้

วันนี้อาจารย์ให้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกนกระดาษเช็ดชู่

อุปกรณ์ (Equipment)

1.กระดาษสี (color Paper)
2.ไหมพรม (yarn)
3.แกนกระดาษเช็ดชู่ (Tissue Paper)
4.กรรไกร (Scissors)


วิธีทำ (How to)

    นำแกนกระดาษเช็ดชู่มาตัดแบ่งครึ่ง และนำกระดาษสีมาตัดเป็นวงกลมและวาดรูปลงไป จากนั้นนำที่เจาะกระดาษเจาะแกนกระดาษเช็ดชู่ให้ทะลุทั้ง 2 ด้าน และร้อยไหมพรมเข้าไปในรู ให้ทะลุอีกข้างหนึ่ง จากนั้นให้ติดกระดาษสีที่วาดรูปเสร็จแล้วไว้ตรงกลางแกนกระดาษเช็ดชู่


วิธีเล่น (How to Play)

   จับปลายเชือกด้านล่างทั้ง  2 ข้าง แล้วดึงขึ้นลง สังเกตแกนกระดาษเช็ดชู่มันจะค่อยๆเลื่อนขึ้นข้างบนตามแรงดึง


นำเสนอบทความ ( Science Articles )

1. เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก "เป็ด" และ "ไก่" : Cick
    ครูปฐมวัยสอนนักเรียนอนุบาลเรียนรู้วิทย์จาก เป็ดและ ไก่เริ่มจากเล่านิทานก่อน แล้วเอาลูกเจี๊ยบกับลูกเป็ดมาให้สังเกตลักษณะกันใกล้ๆ พร้อมตั้งคำถามเชิงวิทยาสาสตร์ให้สืบค้น และพาทัวร์ฟาร์มเป็ด-ไก่ของ อบต.ก่อนให้นำเสนอผ่านรูปภาพ 

2. เรื่อง จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ ....สนุกคิดกับของเล่นวิทย์ : Cick
     ของเล่นนั้น อยู่คู่กับเด็กทุกคน ทั้งของเล่นพื้นบ้านที่เกิดจากภูมิปัญญาไทยสืบทอดมาตั้งแต่โบราณกาล  และของเล่นวิทยาศาสตร์ ที่สามารถกระตุ้นและจุดประกายความสนใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่เด็กๆ ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายได้ 

3. เรื่อง สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Natural Phenomena) : Cick
    -  สาระที่ควรเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมให้เด็กสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว เป็นความคิดรวบยอดทางกายภาพ เด็กจะได้ใช้ทักษะการสังเกต การตั้งคำถาม และการหาคำตอบ ช่วยให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในลำดับขั้นสูงต่อไป 

4. เรื่อง สอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about Weather) : Cick
   การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about weather) หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็ปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง

สรุปบทความเป็น Mind Map ดังนี้


เทคนิคการสอน (Teaching methods)

1. การสอนโดยเรื่องของการนำเสนอ
2. การสอนในเรื่องของการอภิปราย
3. ใช้การสรุปโดยแผนที่ทางความคิด (mind map )
4. มีการปฎิบัติจริง
5. การเรียนรู้ด้วยตนเอง

การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)
1. นำของเล่นวิทยาศาสตร์ไปเล่นกับเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ 
2. สามาารถนำไปบรูณาการกับวิชาอื่นได้ เพื่อนให้เกิดความรู้แบบองค์รวม
ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)

ตนเอง : 95% ตั้งใจเรียนดี มาเรียนตรงเวลา มีความตั้งใจในการทำกิจกรรม
เพื่อน : 100% ทุกคนมีความตั้งใจในการเรียนและการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี
อาจารย์ : 100% เตรียมเนื้อหาในการมาเป็นอย่างดี มีกิจกรรมมาให้ทำเพื่อไม่ให้นักศึกษาเครียด 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น