บันทึกอนุทิน
วิชา
การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
ครั้งที่ 13 วันที่
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เวลาเรียน 08.30
- 12.30 ห้อง 223
ความรู้ที่ได้รับ (knowledge)
วันนี้อาจารย์ให้นำของเล่นวิทยาศาสตร์ (Science Toys)มาส่งอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะนำมาจัดเป็นกลุ่ม ดังต่อไปนี้
- กลุ่ม การเกิดจุดศูนย์ถ่วง (The center of gravity)
- กลุ่ม เกิดจากพลังงานหรือแรง (Of energy or force)
- กลุ่ม การใช้แรงดันลม (Using pressure)
- กลุ่ม สำหรับจัดเข้ามุม (The corner)
- กลุ่ม การทำให้เกิดเสียง (Sounding)
ตัวอย่างของเล่นวิทยาศาสตร์กลุ่มต่างๆ
นำเสนอวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
วิจัยคนที่ 1 น.ส. ชนากานต์ มีดวง >>> การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้รูปแบบกิจกรรมศิลปะส้รางสรรค์เพื่อการเรียนรู้
วิจัยคนที่ 2 น.ส. สุธิดา คุณโตนด >>> ผลบันทึกประกอบประสบการณืวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
วิจัยคนที่ 3 น.ส. ธิดารัตน์ สุธิพล >>> ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
วิจัยคนที่ 4 น.ส. ธนภรณ์ คงมนัส (ดิฉันเอง) >>> ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
กิจกรรมในห้องเรียน >>> วันนี้อาจารย์ให้ทำ Cooking วาฟเฟิล
ส่วนผสม (ingredient)และอุปกรณ์ในการทำ
- แป้งวาฟเฟิล
- ไข่ไก่
- เนย
-ที่คนแป้ง
- ชาม
- ถ้วยแบ่ง
- น้ำ
- เตาอบวาฟเฟิล
ขั้นตอนการทำ (Procedures)
- ผสมแป้งวาฟเฟิลกับน้ำทีละนิดและใส่ไข่ไก่ เนย ลงไปคนให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้ากัน
- คนไปเรื่อยๆให้ส่วนผสมทั้งหมดเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นให้สังเกตเนื้อแป้งไม่ให้เนื้อแป้งข้นจนเกินไปและเหลวจนเกินไป
- จากนั้นให้ตักแบ่งแป้งวาฟเฟิลใส่ถ้วยแบ่งคนละถ้วยเพื่อนำไปเทลงบนเตาอบวาฟเฟิล
- การเทแป้งวาฟเฟิลนั้นต้องเทให้อยู่ตรงกลางของเตาอบและปิดฝารอจนสุก รอบแรกเราเทข้างละ 1 ถ้วย วาฟเฟิลจะออกมาแบบไม่เต็มแผ่น เลยทดลองเทอีกครั้ง เทข้างละ 1 ถ้วยครึ่ง ผลออกมานั้น วาฟเฟิลของเราออกมาสวยเต็มแผ่นน่ากินมาก
ในการทำวาฟเฟิลในครั้งนี้เป็นการทำ Cooking แบบง่ายๆ ที่นำไปใช้สอนเด็กได้ ให้เด็กได้เรียนรู้การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง และยังทำให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตัวเองอีกด้วย
เทคนิคการสอน (Teaching methods)
1. การตั้งคำถาม ควรตั้งคำถามเพื่อให้เด็กสังเกตแบบไหน คำถามแบบไหนที่จะให้เด็กฝึกการวิเคราะห์
2. การให้ลงมือกระทำด้วยตนเอง เพื่อจะได้เรียนรู้และเกิดประสบการณ์ใหม่ๆ
3. การสอนทำ Cooking ควรจะสอนเด็กแบบไหน ควรแนะนำอุปกรณ์และส่วนผสมให้เด็กฟังก่อน ขั้นตอนการทำควรบอกเด็กทีละขั้นตอนอย่างละเอียด
4. การนำเสนอหน้าชั้นเรียน ควรพูดเฉพาะที่สำคัญๆ พูดอย่างมั่นใจ พูดคำควบกล้ำให้ถูกต้อง
การนำไปประยุกต์ใช้ (Applications)
1. สามารถนำแผนการสอนในวิจัยที่เพื่อนนำเสนอมาปรับประยุกต์เพื่อใช้สอนเด็กๆได้
2. สามารถนำวิธีการทำ Cooking ในวั้นนี้ไปให้เด็กได้ลงมือปฎิบัติได้
3. สามารถนำทักษะวิทยาศาสตร์ไปต่อยอดในการจัดกิจจกรมให้กับเด็กได้เรียนรู้ที่เต็มศักย์ภาพได้
ประเมินการเรียนการสอน (Assessment)
ตนเอง : มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัย และมีการจดบันทึกเพิ่มเติมในการทำกิจจกรม Cooking ตั้งใจในการทำมาก และมีส่วนร่วมในการช่วยเพื่อนทำรู้สึกชอบมากหอมไปทั่วห้อง อยากให้มีทำ cooking ในทุกๆคาบเลย
เพื่อน : ตั้งใจและมีส่วนร่วมในการช่วยตอบคำถามในห้อง ฟังเพื่อนและช่วยเพื่อนตอบตอนนำเสนอวิจัย มีการจดบันทึกเพิ่มเติม เพื่อนๆร่วมด้วยช่วยกันในการทำกิจกรรม cooking อย่างมาก ทำให้กิจกรรมในครั้งนี้เป็นอย่างราบรื่น และรับประทานวาฟเฟิลที่ตัวเองทำอย่างอร่อย
อาจารย์ : อาจารย์ได้แนะนำเทคนิคในการนำเสนองานวิจัยเป็นอย่างดี ในการทำกิจกรรมอาจารย์มีของเตรียมให้ทำให้สะดวกสบายมาก มีการอธิบายขั้นตอนการทำอย่างละเอียดทีละขั้นตอน ทำให้นักศึกษาเข้าใจการทำวาฟเฟิลและทำออกมาได้สมบูรณ์แบบ อาจารย์ได้แนะนำวิธีการเทวาฟเฟิลที่ออกมาสวยแบบเต็มแผ่น ทำให้วาฟเฟิลของเราดูน่ากินมากยิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น